betgamecock.com สุขภาพ แนะนำเกี่ยวกับประเด็นของ “ตะคริว” เกิดจากอะไร บรรเทาอาการได้อย่างไร

แนะนำเกี่ยวกับประเด็นของ “ตะคริว” เกิดจากอะไร บรรเทาอาการได้อย่างไร


สุขภาพ

แนะนำเกี่ยวกับประเด็นของ “ตะคริว” เกิดจากอะไร บรรเทาอาการได้อย่างไร

หลายคนประสบกับอาการตะคริวกินในกรณีแตกต่างกันไป ทั้งนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ออกกำลังกายโดยที่ยืดหยุ่นร่างกายไม่เพียงพอ รวมไปถึงอากาศที่เย็นจัด

โค้ชวิท นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ (ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา) จากกรมอนามัย มาแนะนำเกี่ยวกับประเด็นของอาการตะคริว เพื่อคนที่อาจเกิดปัญหานี้ในอนาคต สามารถป้องกันและแก้ไขอาการได้ด้วยตนเอง

ตะคริว คืออะไร
ตะคริว คือ อาการหดเกร็งที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง การเป็นตะคริวนี้อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ และอาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลายๆ มัด พร้อมกันก็ได้

“ตะคริว” เกิดขึ้นได้หลายช่วงเวลา แม้ในช่วงที่ไม่ควรเกิดขึ้น จนอาจนำอันตรายมาสู่เราได้ เช่น ตอนว่ายน้ำ ตอนวิ่ง ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน บางรายอาจมีอาการตะคริวที่ขาในขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น หรือที่เรียกว่าตะคริวกลางคืน ซึ่งมักเกิดกับกล้ามเนื้อขาและพบได้บ่อยในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ บางรายก็เกิดที่ หลัง หรือหน้าท้อง

การเกิดตะคริวจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ทิ้งเวลาไว้ซักพักภายใน 2-15 นาที อาการจะดีขึ้น ในบางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรังเป็นวันก่อนจะหายอย่างสมบูรณ์ การเกิดตะคริวทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนไหวในจุดนั้นๆ เราจึงจำเป็นต้องรู้จักอาการนี้ทั้งสาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

สุขภาพ

สาเหตุของการเกิดตะคริว

ตะคริวเกิดจากสาเหตุมากมายหลายประการจนยากที่จะระมัดระวังได้ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมการเกิดตะคริวได้ สาเหตุที่ว่านั้น อาจเกิดจาก

  • เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อยๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย
  • เซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติในขณะนอนหลับ
  • เกิดได้จากโรคบางโรค เช่น โรคตับ หรือโรคไต
  • เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
  • เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
  • ตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ
  • บาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทกระหว่างเล่นกีฬา
  • ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักมากเกินไประหว่างการทำกิจกรรมออกแรง
  • เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ จากการออกกำลังกายหนักหรือวอร์มอัพไม่พ่อ
  • การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก
  • ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตันๆ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

จะแก้ตะคริวอย่างไร

  • หากเกิดตะคริวขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบนบก ให้ยืดกล้ามเนื้อ หรือนวดบริเวณที่เป็นตะคริวประมาณ 1-2 นาที หากอาการยังไม่หายดี ให้ค่อยๆนวดไปเรื่อยๆ
  • หากเกิดตะคริวขณะว่ายน้ำ เราต้องตั้งสติ พยายามทำให้ตัวของเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา หากเกิดตะคริวที่น่องด้านหลัง ให้หงายตัวขึ้น ใช้มือพยุงน้ำให้ลอย และยกขาขึ้นเหนือน้ำเข้าหาใบหน้า หากเกิดตะคริวหลังขาอ่อน พยายามอยู่ในท่านอนคว่ำ และพับข้อเท้าเข้าหาด้านหลัง หากเกิดตะคริวที่ข้อเท้า นอนหงายและให้เท้าอยู่บนผิวน้ำ แล้วนวด หรือหมุนเบาๆ ที่ข้อเท้า
  • หากเกิดอาการเป็นตะคริวในขณะที่นอน ให้ยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบนี้ 5-10 ครั้ง แล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย
  • หากสตรีตั้งครรภ์เกิดตะคริว ให้ปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอย่างละเอียด และทำการรักษา เนื่องจากอาการตะคริวอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

จะป้องกันตะคริวกินอย่างไร

  • อบอุ่นร่างกายยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือ 2 ลิตร
  • กินอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม เป็นต้น
  • ดื่มนมก่อนนอนเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ตะคริวกินระหว่างนอนตอนกลางคืน
  • นอนยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้ว
  • ฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อยๆ
  • ระมัดระวังการยกของหนัก หรือการทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่อง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หลังการรับประทานอาหาร
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง

แนะนำข่าวสุขภาพเพิ่มเติม : ปัจจัยทำโรคไทรอยด์กำเริบ ความเครียดมีผลหรือไม่ ?